เอาชีวิตรอดจาก Covid-19 ด้วยระบบ Home Isolation by Dietz

เอาชีวิตรอดจาก Covid-19 ด้วยระบบ Home Isolation by Dietz

04 ม.ค. 2565   ผู้เข้าชม 173

โควิด-19 เป็นโรคระบาดที่ยังคงมีผู้ติดเชื้ออยู่จำนวนมากในปัจจุบัน การทำ Home Isolation สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการรุนแรง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยประคับประคองระบบสาธารณสุข ซึ่งการทำ Home Isolation นั้นมีเรื่องที่ต้องเตรียมพร้อมหลายอย่าง เช่น สถานที่แยกกักตัวต่างหาก อาหาร น้ำและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้วและที่สำคัญต้องให้แพทย์สามารถติดตามการรักษาได้ จึงต้องมีระบบการดูแลผู้ป่วยทางไกลหรือ telemedicine ขึ้นมา

ไดเอทซ์ (Dietz)

บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการให้บริการด้านสุขภาพและการแพทย์ออนไลน์จึงได้จัดทำระบบ HI / CI Telemedicine หรือ Dietz Telemedicine สำหรับดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทางไกลขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในช่วงวิกฤตินี้ ซึ่งระบบแพทย์ทางไกลที่ไดเอทซ์ได้เปิดให้บริการนั้นได้กระแสตอบรับที่ดีมากยิ่งในโรงพยาบาลสนามและการรักษาแบบ Home Isolation 

เนื่องจากระบบดังกล่าวสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยและอำนวยความสะดวกในการดูแลรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการดูแลผ่านไลน์และบันทึกลงกระดาษแบบที่ผ่านมา โดยใช้วิธีการพูดคุยและสื่อสารกับคนไข้ ด้วยแชท (Chat) และวีดีโอคอล (VDO Call) กับบุคลากรทางการแพทย์พร้อมทั้งบันทึกอาการผ่านระบบที่ทางไดเอทซ์ได้พัฒนาขึ้นมา วันนี้เราจึงจะมาบอกเล่าวิธีเอาตัวรอดและช่วยเหลือตนเองสำหรับภาวะโควิด-19 โดยแพลตฟอร์มไดเอทซ์

 

Home Isolation คืออะไร ?

Home isolation คือการกักตัวอยู่ที่พักเพื่อติดตามอาการสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการรุนแรง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างและแบ่งเบาภาระทางด้านนระบบสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทันเวลา

คุณสมบัติผู้ที่เข้าเกณฑ์การรักษาแบบ Home Isolation ได้ที่บ้าน

  • มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
  • ผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ
  • มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • ไม่มีภาวะโรคอ้วน หรือค่าดัชนีมวลกาย >30 กก./ม.2 น้ำหนัก >90 กก.
  • อาศัยอยู่ที่พักคนเดียวหรือมีผู้อยู่ด้วยไม่เกิน 1 คน
  • ไม่มีโรคประจำตัว ดังต่อไปนี้  โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆ ตามดุลพินิจของแพทย์

เตรียมพร้อมรับมืออย่างไรเมื่อรู้ว่าตัวเองติดโควิด-19 

  • ตรวจสอบอาการการติดเชื้อโควิด-19 ว่ามีอาการอย่างไรบ้าง
  • ติดต่อหน่วยงานเพื่อเข้ารับการรักษา เช่น 1668, 1669, 1330 เป็นต้น
  • แจ้งผลการติดโควิด-19 แก่คนใกล้ชิด หมู่บ้าน คอนโด โรงเรียน มหาวิทยาลัย และที่ทำงาน
  • แยกของใช้ส่วนตัว และจัดเตรียมสิ่งของสำหรับการกักตัวในที่พักให้พร้อม
    (ยาสามัญประจำบ้าน, ปรอทวัดไข้, เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด, เสื้อผ้า, อาหาร, ของใช้ส่วนตัว และอุปกรณ์สำหรับติดต่อสื่อสาร)
  • จัดเตรียมห้องสำหรับกักตัว หากต้องทำการกักตัวภายในบ้าน
  • เตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ เช่น บัตรประชาชน ผลตรวจโควิด-19
  • ที่สำคัญ! อย่าลืมสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง

 

ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่าง ๆ มากมายที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 รักษาอาการได้ที่บ้าน อาทิ แอปพลิเคชันคุยกับหมอออนไลน์ แอปพลิเคชันปรึกษาเภสัชกรออนไลน์พร้อมสั่งซื้อยา รวมไปถึงระบบ Dietz Telemedicine ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้สามารถรักษาที่บ้านได้ในช่วงวิกฤติการณ์โรคร้ายนี้ที่ทำให้หลาย ๆ โรงพยาบาลมีเตียงไม่เพียงพอ


ฟีเจอร์ของระบบ Dietz Telemedicine สำหรับผู้ป่วยที่รักษาโควิด-19 ที่บ้าน

ผู้ป่วยจะต้องทำการลงทะเบียนกับโรงพยาบาลต้นสังกัดที่มีระบบ Dietz Telemedicine เพื่อที่จะทำการรักษาแบบ Home Isolation ซึ่งภายในระบบนี้จะมีฟีเจอร์ไว้สำหรับช่วยเหลือในการรักษาและประเมินอาการโควิด-19 ได้ดังนี้

  • ระบบลงทะเบียนเข้ารับการรักษาโควิด-19
  • บันทึกสุขภาพในแต่ละวัน สำหรับรายงานต่อเจ้าหน้าที่ลงในแพลตฟอร์ม Dietz Telemedicine
  • บอกแจ้งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และวิธีการดูแลตนเองระหว่างทำ Home Isolation
  • แชท (Chat) และ วีดีโอคอล (VDO Call) กับเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์
  • ดูรายงานสุขภาพแจ้งเตือนเมื่อพบอาการผิดปกติ
  • สมุดเบอร์สำหรับติดต่อเมื่อทราบว่าตัวเองติดโควิด-19 

ฟีเจอร์ของระบบ Dietz Telemedicine สำหรับโรงพยาบาลในการดูแลติดตามอาการผู้ป่วย โควิด-19 

โรงพยาบาลที่จะทำการใช้ระบบ Dietz Telemedicine ของทางไดเอทซ์ได้นั้นจะต้องมีอุปกรณ์ที่พร้อม เพื่อที่จะทำการรักษาทางไกลให้แก่คนไข้ได้อย่างเต็มระบบและมีประสิทธิภาพ เช่น คอมพิวเตอร์/แล็บท็อป, ไมโครโฟน และเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรมการใช้งานระบบแพทย์ทางไกลของไดเอทซ์ โดยฟีเจอร์ของระบบ  Dietz Telemedicine มีดังนี้

  • ลงทะเบียนผู้เข้ารักษาโควิด-19
  • แผนที่แสดงพิกัดผู้เข้ารับรักษา
  • แสดงบันทึกอาการของคนไข้ในแต่ละวัน
  • ติดตามข้อมูลสุขภาพแสดงความเสี่ยงของคนไข้ตามอาการ
  • ส่งข้อความเตือนภัย/ประกาศ
  • แชท (Chat) และ วีดีโอคอล (VDO Call) เพื่อติดตามอาการคนไข้
  • Export ข้อมูลรายงานต่าง ๆ 

ต่อจากนี้จะหมดปัญหาเรื่องเตียงไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 เพราะทาง ไดเอทซ์ (Dietz) ได้นำระบบ Dietz Telemedicine การรักษาแพทย์ทางไกลมาให้โรงพยาบาลรัฐได้ใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ในส่วนโรงพยาบาลเอกชนทางบริษัทจะคิดเฉพาะค่าบริการในการติดตั้งระบบติดตามอาการคนไข้ตามจำนวน 

ไดเอทซ์พร้อมจะช่วยเหลือผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ทุกท่านให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ โดยไดเอทซ์ได้เปิดให้โรงพยาบาลรัฐใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และโรงพยาบาลเอกชนทีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าบริการในการติดตั้งระบบตามจำนวนผู้ป่วย พร้อมติดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 วัน ขณะนี้มีโรงพยาบาลมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศเข้าร่วมระบบ telemedicine แล้ว และไดเอทซ์ยังคงมุ่งหน้าต่อไปที่จะเป็นสื่อกลางที่ดีในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป 


ข่าว/สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

THTA ร่วมจับมือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีการแพทย์ ยกระดับสาธารณสุขไทย
04 ม.ค. 2565

THTA ร่วมจับมือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีการแพทย์ ยกระดับสาธารณสุขไทย

สาระน่ารู้
5 แอปพลิเคชัน คุยกับหมอออนไลน์ง่าย ๆ ได้ที่บ้าน สะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์ชีวิต 4.0
04 ม.ค. 2565

5 แอปพลิเคชัน คุยกับหมอออนไลน์ง่าย ๆ ได้ที่บ้าน สะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์ชีวิต 4.0

สาระน่ารู้